[เคล็ดลับวันอังคาร#66] แจกแบบทดสอบวัดผลการทำงานของช่องตลอดปี


[เคล็ดลับวันอังคาร#66] แจกแบบทดสอบวัดผลการทำงานของช่องตลอดปี

สวัสดีค่ะ

สุขสันต์วัน Christmas ค่ะครีเอเตอร์ทุกท่าน!

กลับมาพบกันอีกครั้งกับเคล็ดลับวันอังคารเช่นเคยเหมือนทุกอาทิตย์นะคะ ในโอกาสสิ้นปีและเป็นตอนสุดท้ายของเคล็ดลับวันอังคารในปีนี้ Creator Community ถือโอกาสแชร์ชุดแบบทดสอบหรือชุดคำถามจาก Creator Academy ที่จะช่วยคุณในการประเมินผลช่องของคุณว่า ปีที่ผ่านมา ช่องของเราทำงานเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อให้สามารถตั้งเป้าทิศทางช่องในปีหน้าได้ง่ายขึ้นค่ะ

การประเมินช่องต้องดำเนินการทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ YouTube มีเครื่องมือออนไลน์หลากหลายประเภทที่มาพร้อมเมตริกที่มีประสิทธิภาพ รวมถึง YouTube Analytics ที่มีข้อมูลมากมาย แต่คุณไม่จำเป็นต้องดูทั้งหมดในคราวเดียว คุณสามารถค้นหาข้อมูลจากเครื่องวัดตัวใดตัวหนึ่งโดยเฉพาะเมื่อมีคำถามที่เจาะจง และสามารถตรวจสอบปัญหาให้ละเอียดขึ้นหรือเดินหน้าต่อไปยังจุดหมายขึ้นอยู่กับคำตอบที่ได้

เราสามารถสามารถดำเนินการประเมินผลช่องได้โดยทำตาม 3 ขั้นตอนต่อไปนี้ ( ใครที่ใช้ Analytics ไม่เป็น แนะนำให้เรียนรู้ได้จากสัมมนาออนไลน์ YouTube Analytics แบบเข้าใจง่าย ที่ฝนเคยจัดไปเมื่อเดือนที่แล้วค่ะ 

ตั้งคำถาม วัดผล ขั้นตอนต่อไป
  • ขั้นตอนที่ 1: ตั้งคำถาม
  • ระบุคำถามหรือชุดคำถามที่จะทำให้ค้นพบข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับช่อง เป็นสิ่งสำคัญที่คำถามแต่ละข้อต้องสามารถหาคำตอบที่ชัดเจนได้

  • ขั้นตอน 2: วัดค่า
  • รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ตอบคำถาม ในบางกรณี คุณอาจจำเป็นต้องวัดมิติข้อมูลหลายรายการเพื่อยืนยันสมมติฐาน
    ตัวอย่าง: ดูจำนวนสมาชิกโดยรวม จากนั้นใช้มุมมองเส้นเชิงซ้อนเพื่อระบุเวลาในการรับชมที่มาจากวิดีโอ

  • ขั้นตอนที่ 3: ขั้นตอนต่อไป
  • ตรวจสอบว่าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และนำโซลูชันไปใช้ตามผลการวิเคราะห์ที่ได้ โดยทั่วไปแล้ว แผนการนำไปใช้ของคุณจะสะท้อนให้เห็นว่าการปรับปรุงในด้านใดที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

    ตัวอย่าง: หากวิดีโอล่าสุดมีจำนวนสมาชิกน้อยลง ให้ลองตรวจสอบคำพูดและภาพกระตุ้นการตัดสินใจ คุณยังสามารถตรวจสอบความคิดเห็นเพื่อประเมินว่าผู้ชมชอบเนื้อหาดังกล่าวมากน้อยแค่ไหนได้ด้วย
มาดูรายละเอียดกันค่ะ

  • ขั้นตอนที่ 1: ตั้งคำถาม 
ตัวอย่างคำถามที่คุณสามารถใช้ถาม และสิ่งที่สามารถวัดได้มีดังนี้

คำถาม

สิ่งที่ควรวัด

เราจะเพิ่มการดูให้มากที่สุดได้อย่างไร
เรามียอดดู (หรือเวลาในการรับชม) เท่าไหร่
เนื้อหาใดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
เนื้อหาใดที่เราควรโปรโมต/สร้าง เนื้อหาใดกระตุ้นการมีส่วนร่วมที่คุณต้องการ
เนื้อหาใดมีผู้ชมมากที่สุด
เนื้อหาใดรักษาความสนใจของผู้ดูได้ดีที่สุด
ผู้ดูของฉันเป็นใคร/มาจากที่ไหน
เราจะทำให้ผู้ชมค้นพบเนื้อหาของเรามากขึ้นได้อย่างไร ผู้ใช้พบเนื้อหาของเราได้อย่างไร
ผู้ใช้ดูเนื้อหาของเราด้วยวิธีใด
เราควรอัปโหลดเนื้อหาเมื่อไหร่
เราจะสร้างความภักดีได้อย่างไร เรามีจำนวนสมาชิกแล้วกี่คน
ผู้ดูภักดีมากแค่ไหน
สมาชิกภักดีมากแค่ไหน
เราจะเข้าถึงผู้ชมในต่างประเทศได้อย่างไร ภาษาอื่นใดที่เราควรตั้งเป้าหมาย
มียอดดูจำนวนเท่าใดที่มาจากคำบรรยาย
เราจะเพิ่มคุณค่าให้กับเนื้อหาด้วยอินเทอร์แอกทีฟได้ดีที่สุดอย่างไร ประสิทธิภาพของการ์ดและตอนท้ายเป็นอย่างไร

เนื่องจากแต่ละช่องมีลักษณะที่ต่างกันไป ดังนั้นการดำเนินการที่เป็นผลมาจากการประเมินอาจขึ้นอยู่กับเป้าหมายและทรัพยากรของคุณ

  • ขั้นตอน 2: วัดค่า 
ในการเตรียมการประเมิน ให้นึกถึงการเดินทางของช่องบน YouTube ลองคิดถึงสิ่งที่ได้ผลและไม่ได้ผลที่ระดับสูง และสังเกตว่าเคยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับกลยุทธ์ของช่องหรือไม่นับตั้งแต่เริ่มต้น การเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลต่อการเติบโตอย่างไร
จุดเริ่มต้นที่ดีคือการดูภาพรวมของกรอบเวลาที่เจาะจงเพื่อกำหนดเกณฑ์เปรียบเทียบสำหรับการประเมินได้ จากนั้นใช้เกณฑ์พื้นฐานนี้เพื่อมองหาโอกาสในการเติบโต ใช้คุณลักษณะการเปรียบเทียบเพื่อดูเมตริกประสิทธิภาพระหว่างระยะเวลา 2 ช่วงที่ต่างกัน (แต่ละเดือน แต่ละไตรมาส หรือแต่ละปี)
กราฟเวลาในการรับชม
รวบรวมข้อมูลสำหรับเมตริกแต่ละชนิดด้านล่างจาก YouTube Analytics เพื่อดูภาพรวมของผู้ชม คุณสามารถพิมพ์ตารางเปล่านี้ออกมา แล้วเติมข้อมูลของคุณเพื่อติดตามประสิทธิภาพ และคลิกในลิงก์เพื่อไปดูผลในช่องของคุณได้เลยค่ะ 

เมตริก ช่วงเวลาปัจจุบัน ระยะเวลาก่อนหน้า เปอร์เซ็นต์การเติบโต
เวลาในการรับชม
(ชั่วโมงหรือนาที)
ยอดดู
ระยะเวลาการดูโดยเฉลี่ย
จำนวนวิดีโอที่เผยแพร่
ชอบ
ไม่ชอบ
ความคิดเห็น
แชร์
สมาชิก
รายได้
CPM ตามการเล่น
* แต่ละลิงก์จะมีค่าเป็น 28 วัน โปรดปรับระยะเวลาหากคุณต้องการวัดแต่ละไตรมาสหรือแต่ละปี

ค้นหาเมตริกที่แสดงให้เห็นโอกาสที่เป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น หากช่องมีเกณฑ์เปรียบเทียบการอัปโหลดวิดีโอ 30 รายการต่อเดือน แต่เดือนที่ผ่านมาคุณอัปโหลดเพียง 20 รายการ ให้ลองพิจารณาสาเหตุต่างๆ หากไม่ได้ตั้งใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ คุณอาจต้องประเมินกลยุทธ์เนื้อหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวางผังรายการ

ขั้นที่ 3 ขั้นตอนต่อไป 

 ลองนึกถึงสถานการณ์ที่ตรงกับธุรกิจของคุณมากที่สุด แล้วปรับการประเมินให้สอดคล้องกันมีดังนี้ ตัวอย่างสถานการณ์ที่สำคัญและด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันสำหรับการประเมินมีดังนี้

หากคุณวางแผนที่จะ...

คุณอาจต้องประเมิน...

เริ่มหรือเปลี่ยนแนวทางของช่อง ภารกิจ
สร้างแบรนด์ให้ช่องอย่างสอดคล้องกัน แบรนด์
ตรวจสอบหรืออัปเดตกลยุทธ์เนื้อหา คุณค่าของเนื้อหา
ปรับปรุงความสอดคล้องกับผู้ชมเป้าหมายและเพิ่มเวลาในการรับชม ผู้ชมและการมีส่วนร่วม
ดึงดูดผู้ดูใหม่ๆ หรือเพิ่มจำนวนสมาชิก การค้นพบ
ติดตามเป้าหมายการสร้างรายได้ รายได้ (หลักสูตรแยกต่างหาก)

เพียงเท่านี้ คุณจะมีข้อมูลที่เหมาะสมในการกำหนดวัตถุประสงค์ระยะสั้นและระยะยาวที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถทุ่มเทความพยายามไปกับการนำช่อง YouTube ของคุณไปสู่อีกระดับได้
ใครมีเป้าหมายอะไรช่วงปลายปี มาแชร์กันได้เลยนะคะ สัญลักษณ์แสดงอารมณ์ขยิบตา 
สวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าค่ะสมาชิกทุกท่าน  สัญลักษณ์แสดงอารมณ์มีความสุข 
-------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก YouTube Creator Academy

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ยอดวิวเป็นล้านแถมติดมาแรงทำไมได้ตังค์นิดเดียว

[เคล็ดลับวันอังคาร#47]: โดน Strike จะแก้ไขอย่างไร อะไรที่ควรและไม่ควรทำ

12 เคล็ดลับการทำ VLOG ให้ปัง [เคล็ดลับวันอังคาร #15]